กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข รายงานว่า โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของประเทศไทย มีอัตราเฉลี่ยปีละประมาณ 300,000 คน ขณะที่จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคนี้ ในช่วง 5 ปีย้อนหลัง คือ ตั้งแต่ปี 2556-2560 ก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ปี 2559 ขยับขึ้นมาที่ 293,463 ราย และเพิ่มเป็น 304,807 รายในปี 2650 ส่วนผู้ป่วยที่รอดพ้นจากการเสียชีวิต ก็ไม่ได้หมายความว่า สภาพร่างกายจะกลับเป็นปกติในทันที เพราะต้องมีการฟื้นฟูดูแล และทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการฝึกเดิน
แต่การฝึกเดินนั้น แม้จะเป็นการฝึกเดินที่ถูกวิธี แต่ถ้าอุปกรณ์ที่ใช้ไม่มีเทคโนโลยี หรือไม่มีนวัตกรรม ก็จะทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงจากการบาดเจ็บซ้ำเข้าไปอีก เนื่องเพราะผู้ป่วยในกลุ่มนี้ มัดกล้ามเนื้อจะยังไม่แข็งแรงเพียงพอในการเดิน และหากอุปกรณ์ช่วยฝึกเดินไม่มีระบบป้องกันการหกล้ม ปัญหาที่มักจะเกิดกับผู้ป่วยรวมทั้งผู้ดูแลและนักกายภาพฯ ก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น
ศูนย์วิจัย CED2 ภายใต้การกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้คิดค้นอุปกรณ์ช่วยฝึกเดินสำหรับผู้ป่วยที่ผ่านการทำกายภาพบำบัด แบบไดนามิกส์ที่มีระบบพยุงน้ำหนัก (Dynamic Body Weight Support) ชุดแรกของประเทศไทย เพื่อผู้ป่วยในกลุ่มนี้ กระทั่งมีบริษัทเอกชนให้ความสนใจนำงานวิจัยดังกล่าว ไปต่อยอดด้วยการผลิตออกจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ในราคาที่ “ผู้ป่วยทุกกลุ่มสามรถเข้าถึงได้”
ด้วยการสนบสนุนทุนและการให้คำปรึกษาทางด้านการตลาดจาก TED Fund หรือกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมทั้งสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และธนาคารออมสิน ภายใต้โครงการ อุปกรณ์ฝึกเดินที่มีระบบพยุงน้ำหนักบางส่วน หรือ Gait-Assisted Machine with Partial Weight Support System (www.woka.co)
โครงการนี้ เป็นโครงการผลิตอุปกรณ์ที่มีชื่อว่า Space walker เพื่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดในสมอง โดยตั้งใจให้ผู้ป่วยในกลุ่มนี้ ได้ใช้อุปกรณ์ช่วยฝึกเดินที่มีประสิทธิภาพ และตอบสนองการใช้งานได้จริง ในราคาที่เข้าถึงได้ ซึ่งหมายถึงผู้ป่วยจะได้โอกาสในการฟื้นตัวของร่างกายมากขึ้น
นอกจากนี้ โครงการ อุปกรณ์ฝึกเดินที่มีระบบพยุงน้ำหนักบางส่วน หรือ Gait-Assisted Machine with Partial Weight Support System ยังส่งผลดีต่อการแก้ปัญหาให้กับสังคม จากการใช้อุปกรณ์ Space walker ที่จะทำให้ผู้ป่วยเริ่มยืนและเดินได้ กระทั่งกลับเข้าสู่สังคมและช่วยเหลือตนเองได้อีกครั้ง โดยไม่รู้สึกว่า ด้อยค่าจากการเป็นผู้พิการ หรือจากการที่ต้องเป็นผู้ป่วยติดเตียง/นั่งรถเข็น ที่สำคัญคือ สามารถลดการพึ่งพานำเข้าอุปกรณ์ในชนิดและประเภทเดียวกันจากต่างประเทศ ทำให้เพิ่มความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และความยั่งยืนให้กับประเทศได้
Space Walker เป็นอุปกรณ์ที่ถูกออกแบบสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง ผู้พิการทางการเคลื่อนไหวรวมทั้ง “ผู้สูงอายุ” ในรูปแบบต่างๆ โดยตรง ทำให้ผู้ใช้งานมีความมั่นใจในการฝึกเดิน และป้องกันปัญหาการหกล้มของผู้ป่วยได้ดี
. .....คงไม่มีใครปฏิเสธว่า ที่ผ่านมางานวิจัยต่างๆ รวมทั้งงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี และ/หรือนวัตกรรมสำหรับธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ ในบ้านเรามีอยู่จำนวนไม่น้อย แต่ที่ถูกนำไปต่อยอดและทำการตลาดในเชิงพาณิชย์อย่างจริงจังกระทั่งประสบความสำเร็จมีไม่มากนัก
หากแต่ขณะนี้ (สิงหาคม 2563) Space walker มียอดขายแล้ว 5,500,000 บาท และคาดว่า สิ้นปี 2563 ประมาณการยอดขายจะอยู่ที่ 9,500,000 ล้านบาท
เกือบ 10 ล้านบาท สำหรับนวัตกรรมที่ถูกนำมาต่อยอดในเชิงพาณฺชย์จากงานวิจัยของคนไทย โดยฝีมือของคนไทย และแรงสนับสนุนจากหน่วยงานของไทย กระทั่งเริ่มจำหน่ายอย่างจริงจังได้เป็นครั้งแรก เมื่อ มีนาคม 2562
ตัวเลขนี้ มากไป น้อยไป หรือเหมาะสมแล้ว คงต้องช่วยกันหาคำตอบ ……
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
งานประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund)
นายวรุฒ กิ่งเล็ก โทรศัพท์ 085 344 9163
อีเมล์ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
www.tedfund.mhesi.go.th