• 02 333 3700 ต่อ 4072 - 4075
  • saraban_tedfund@mhesi.go.th
  • กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

TED Youth Startup ยุววิสาหกิจเริ่มต้น

 

 

A logo with black and green letters

Description automatically generated

                กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ TED Fund ร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NIA) และ เครือข่ายร่วมพัฒนาผู้ประกอบการ (TED Fellow) ดำเนินงานโครงการยุววิสาหกิจเริ่มต้น (TED Youth Startup) โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมและพัฒนาเยาวชนไปสู่การเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น และมุ่งเน้นสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาประเทศและเป็นโครงการสำคัญในการปฏิรูปประเทศไทยสู่ศตวรรษที่ 21 ด้วยการใช้พลังเยาวชนไทยเป็นกุญแจหลักในการขับเคลื่อนประเทศ พร้อมทั้งปฏิรูประบบการเรียนรู้สร้างประสบการณ์จริงนอกห้องเรียน เปิดโอกาสให้ยุวชนนำความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยี ไปพัฒนาธุรกิจ พร้อมทั้งสนับสนุนและส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์และผู้ประกอบการยุคใหม่อีกด้วยเพื่อดำเนินงานสนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรมในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการรายใหม่ ให้สามารถดำเนินธุรกิจบนฐานขององค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม และเป็นตัวเร่งสำคัญ ในการเพิ่มปริมาณการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนและก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจที่มีความก้าวหน้า และยั่งยืน

                เครือข่ายร่วมพัฒนาผู้ประกอบการ หรือ TED Fellow คือ หน่วยงานพันธมิตรของกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) โดย เครือข่ายฯ TED Fellow มีหน้าที่ในการสรรหา คัดกรอง บ่มเพาะพัฒนาแผนธุรกิจ ให้คำปรึกษาทั้งด้านเทคโนโลยี การตลาด การเขียนข้อเสนอโครงการ และคำแนะนำต่างๆ  แก่ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ที่สนใจเข้าร่วมรับทุนสนับสนุนในโครงการยุววิสาหกิจเริ่มต้น (TED Youth Startup) รวมถึงเป็นตัวกลางที่จะช่วยประสานงานระหว่างกองทุนฯ กับผู้ประกอบการได้อย่างใกล้ชิด

รายละเอียดเครือข่ายร่วมพัฒนาผู้ประกอบการ (TED Fellow) 

คลิกเครือข่ายร่วมพัฒนาผู้ประกอบการ 

 

A close-up of a computer

Description automatically generated

 

วัตถุประสงค์ของการดำเนินโครงการยุววิสาหกิจเริ่มต้น

  1. เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้นักศึกษา นักวิจัย ผู้ประกอบการ นักเรียนทุน อาจารย์ ที่อยู่ในเครือข่ายของมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษา สามารถต่อยอดแนวความคิด พัฒนาสู่การเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศ ที่ช่วยผลักดันการสร้างธุรกิจนวัตกรรมที่มีความเข้มแข็งและสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ผ่านการพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship)
  2. เพื่อผลักดันมหาวิทยาลัยไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการประกอบการ (Entrepreneurial University)
  3. เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความแข็งแกร่งของระบบนิเวศผู้ประกอบการ ตลอดจนพัฒนาเครือข่ายสนับสนุน Startup ในระดับภูมิภาค ได้แก่ พี่เลี้ยง ที่ปรึกษา นักลงทุน และความร่วมมือจาก ศิษย์เก่า กลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มการค้าในพื้นที่ ให้เอื้ออำนวยต่อการจัดตั้งและเติบโตของ Startup
  4. เพื่อสร้างเวทีและเปิดโอกาสให้ Startup เข้าสู่ตลาด ตลอดจนสร้างให้เกิด Startup รุ่นใหม่
  5. เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดการสร้างธุรกิจจริง และสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อสร้างกิจการ

รูปแบบของโครงการและการสนับสนุนทุน แบ่งเป็น 2 โปรแกรม ดังนี้

 

โปรแกรมที่ 1 IDEA : Ideation Incentive Program

                สำหรับบุคคลธรรมดา และ นิสิต นักศึกษา ที่มีสัญชาติไทยและอยู่ระหว่างการศึกษาในสถาบันการศึกษาภายในประเทศไทย ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก หรือจบการศึกษามาแล้วไม่เกิน 5 ปี (นับจนถึงวันที่ยื่นขอรับการสนับสนุนทุน) จำนวนอย่างน้อย 3 ท่าน ซึ่งต้องเป็นสมาชิกของเครือข่ายฯ (TED Fellow)

เพื่อเป็นค่าพัฒนาต้นแบบ (Mockup) และแผนธุรกิจฉบับสมบูรณ์ ผ่านเครือข่ายร่วมพัฒนาผู้ประกอบการ (TED Fellow) ที่ได้รับการรับรอง ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการไม่เกิน 6 เดือน โดยกองทุนฯ จะให้การสนับสนุนทุนวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท โดยจะสนับสนุนค่าใช้จ่ายในสัดส่วนร้อยละ 100 ซึ่งหมวดค่าใช้จ่ายที่ให้การสนับสนุน มีดังนี้

  1. หมวดค่าใช้จ่ายในการจัดทำแผนธุรกิจ (วงเงิน 50,000 บาท)
  2. หมวดค่าใช้บริการเครือข่ายร่วมพัฒนาผู้ประกอบการ
  3. หมวดค่าใช้จ่ายในการพัฒนาต้นแบบ
  4. หมวดค่าวิเคราะห์ทดสอบ
  5. หมวดค่าใช้จ่ายในการทดสอบตลาด
  6. หมวดค่าจ้างที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญ

 โปรแกรมที่ 2 POC : Pre-seed Stage หรือ Proof of Concept 

                สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีแผนจะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หรือผู้ประกอบการที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในประเทศไทยที่มีผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ที่มีคุณสมบัติเป็นนิสิต นักศึกษา สัญชาติไทยและอยู่ระหว่างการศึกษาในสถาบันการศึกษาภายในประเทศไทย ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก หรือจบการศึกษามาแล้วไม่เกิน 5 ปี (นับจนถึงวันที่ยื่นขอรับการสนับสนุนทุน) จะต้องมีสัดส่วนการถือครองหุ้นในกิจการมากกว่าร้อยละ 30 และเป็นหนึ่งในกรรมการผู้มีอำนาจลงนามของนิติบุคคล  

แบ่งออกเป็น โปรแกรมย่อย 2 โปรแกรม สำหรับผู้ประกอบการตามข้อ ประกอบด้วย

 

โปรแกรมที่ 2.1 POC : Incubator Incentive Program

                เพื่อพัฒนาต้นแบบ (Prototype) ซึ่งเป็นการพิสูจน์ความคิดใหม่ทั้งด้านเทคโนโลยีและด้านธุรกิจ ผ่านเครือข่ายร่วมพัฒนาผู้ประกอบการ (TED Fellow) ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการไม่เกิน 2 ปี โดยกองทุนฯ จะให้การสนับสนุนทุนไม่เกินร้อยละ 90 ของมูลค่าโครงการ ทั้งนี้วงเงินไม่เกิน 1,500,000 บาท ซึ่งหมวดค่าใช้จ่ายที่ให้การสนับสนุน มีดังนี้

  1. หมวดค่าใช้จ่ายในการพัฒนาต้นแบบ
  2. หมวดค่าวิเคราะห์ทดสอบและการขอรับรองมาตรฐาน
  3. หมวดค่าใช้จ่ายในการทดสอบตลาด
  4. หมวดค่าใช้จ่ายในการถ่ายทอดเทคโนโลยี / การซื้อสิทธิ์ (สูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท)
  5. หมวดค่าจ้างที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญ (สูงสุดไม่เกินร้อยละ 30)
  6. หมวดค่าใช้บริการเครือข่ายร่วมพัฒนาผู้ประกอบการ

 

 โปรแกรมที่ 2.2 POC : University Seed Grant Program

                เพื่อพัฒนาต้นแบบ (Prototype) ซึ่งเป็นการพิสูจน์ความคิดใหม่ทั้งด้านเทคโนโลยีและด้านธุรกิจ ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินโครงการไม่เกิน 2 ปี โดยกองทุนฯ จะให้การสนับสนุนทุนไม่เกินร้อยละ 90 ของมูลค่าโครงการ ทั้งนี้วงเงินไม่เกิน 750,000 บาท ซึ่งหมวดค่าใช้จ่ายที่ให้การสนับสนุน มีดังนี้

  1. หมวดค่าใช้จ่ายในการพัฒนาต้นแบบ
  2. หมวดค่าวิเคราะห์ทดสอบและการขอรับรองมาตรฐาน
  3. หมวดค่าใช้จ่ายในการทดสอบตลาด
  4. หมวดค่าใช้จ่ายในการถ่ายทอดเทคโนโลยี / การซื้อสิทธิ์ (สูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท)
  5. หมวดค่าจ้างที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญ (สูงสุดไม่เกินร้อยละ 30)

 

รายการค่าใช้จ่ายที่ไม่สนับสนุน

  1. ค่าใช้จ่ายเพื่อการลงทุนในทรัพย์สินถาวร สิ่งก่อสร้าง เครื่องมือ หรือเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต (ยกเว้นแม่แบบ แม่พิมพ์)
  2. ค่าวัสดุ อุปกรณ์ สำหรับสำนักงาน อาทิ โต๊ะ เก้าอี้ ตู้เก็บเอกสาร คอมพิวเตอร์ พริ้นเตอร์ เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์เครื่องเขียนต่าง ๆ
  3. ค่าจัดเลี้ยง อาหาร อาหารว่าง เครื่องดื่ม ค่าเช่าอุปกรณ์ เครื่องเสียง สถานที่ (ยกเว้นค่าเช่าพื้นที่แสดงสินค้าหรือบริการ)
  4. ค่าที่พัก และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง พาหนะ การขนส่ง รวมถึงค่าพิธีการศุลกากร
  5. ค่าจ้างผลิต (Outsource) บุคคลธรรมดาที่เป็น (1) พนักงานของบริษัทผู้รับทุน (2) ผู้ถือหุ้น หรือกรรมการของบริษัทผู้รับทุน (ที่มีรายชื่อตามหนังสือรับรองบริษัท)
  6. ค่าจ้างผลิต (Outsource) นิติบุคคลที่มีกรรมการของบริษัท คนเดียวกันกับบริษัทผู้รับทุน (ที่มีรายชื่อตามหนังสือรับรองบริษัท)
  7. ค่าจ้างนักพัฒนาภายในบริษัท (In-house)
  8. ค่าธรรมเนียมการยื่นจดสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร หรือทรัพย์สินทางปัญญาอื่น ๆ
  9. ค่าตอบแทนการอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา ที่นอกเหนือจาก Upfront fee เช่น ค่าตอบรายปี (Royalty fee) ค่าตอบแทนการใช้สิทธิขั้นต่ำ (Minimum fee) เป็นต้น
  10. ค่าจ้างบล็อกเกอร์โฆษณาสินค้า หรือรีวิวสินค้า
  11. ค่าจ้างที่เกี่ยวข้องกับการบริหารโครงการ ติดต่อประสานงาน
  12. ค่าจ้างผู้สอบบัญชี นักบัญชี เจ้าหน้าที่การเงิน
  13. ค่าที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญ ด้านบัญชี การเงิน

 

ลักษณะสำคัญของโครงการที่สามารถขอรับทุนสนับสนุน

  1. เป็นโครงการที่มีการศึกษาความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยี ธุรกิจ การตลาดและเศรษฐศาสตร์ รวมทั้งผลกระทบต่อการพัฒนานวัตกรรมของประเทศซึ่งนำไปสู่การยกระดับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
  2. เป็นโครงการที่มีการพัฒนานวัตกรรม เพื่อนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์และเกิดประโยชน์ต่อภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ โดยเฉพาะในสาขาที่ตอบสนองต่อทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ซึ่งนำไปสู่การยกระดับศักยภาพการแข่งขัน และสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจหรือความมั่นคงของประเทศ
  3. เป็นโครงการที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ต่อยอดจากผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ สิทธิบัตร หรือเทคโนโลยีที่มีอยู่เดิม และมีศักยภาพในการพัฒนาไปสู่เชิงพาณิชย์
  4. มีการพัฒนาธุรกิจบนฐานเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีศักยภาพทางการตลาด สามารถ   ต่อยอดเชิงพาณิชย์ และสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ
  5. มีความต้องการพัฒนา ปรับปรุง หรือขยายผลด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม
  6. มีผลลัพธ์หรือผลผลิตที่ชัดเจนภายในระยะเวลาที่รับการสนับสนุนทุน
  7. มีความร่วมมือด้านการพัฒนานวัตกรรมหรือการพัฒนาศักยภาพร่วมกับสถาบันการศึกษาหรือสถาบันวิจัย
  8. มีความพร้อมและแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินงานโครงการและมีแนวโน้มที่จะประกอบธุรกิจต่อเนื่อง
  9. ไม่เป็นผู้ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นในโครงการเดียวกันระหว่างยื่นข้อเสนอโครงการจนถึงพิจารณาโครงการ เว้นแต่ทุนนั้นเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ซ้ำซ้อนกับค่าใช้จ่ายที่ขอรับการสนับสนุนทุน

 

A table with numbers and text
Description automatically generated

 

TED Fellow ดาวน์โหลดเอกสาร สมัครขอรับทุน

ติดต่อเรา

ที่อยู่ : กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม

       กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

       เลขที่ 75/47 อาคารพระจอมเกล้า (ห้อง 308) ถ.พระราม 6
       แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

อีเมล์ : saraban_tedfund@mhesi.go.th

โทรศัพท์ : 02 333 3700 ต่อ 4072 - 4075

โลโก้และแบนเนอร์สำหรับเว็บไซต์

แบนเนอร์สำหรับเว็บไซต์

แผนที่

© 2017 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม . All Rights Reserved.

 กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ TED Fund เป็นกองทุนส่งเสริมและสนับสนุนทุนสำหรับนักศึกษา และผู้ประกอบการธุรกิจที่มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นพื้นฐาน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

นโยบายคุกกี้

เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างสะดวกสบายยิ่งขึ้นรวมถึงการวิเคราะห์การทำงานของเว็บไซต์เพื่อพัฒนาบริการของเรา ท่านสามารถกดปุ่ม "ยอมรับ" เพื่ออนุญาตให้ใช้คุกกี้ทุกประเภท