• 02 333 3700 ต่อ 4072 - 4075
  • saraban_tedfund@mhesi.go.th
  • กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาธุรกิจสตาร์ทอัพในด้านการให้บริการหรือโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรมของธุรกิจสตาร์ทอัพรายใหม่ที่เกิดขึ้นในประเทศ
  2. เพื่อยกระดับระบบนิเวศวิสาหกิจเริ่มต้นของประเทศไทย (Thailand Startup Ecosystem) ให้มีความพร้อมในการเร่งสร้างสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ที่สามารถเริ่มต้นทำธุรกิจได้โดยใช้ต้นทุนต่ำ และเกิดการบริหารจัดการทรัพยากรภายในประเทศได้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
  3. เพื่อเป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน อาทิ หน่วยงานให้ทุนสนับสนุน (Funding Agency) หน่วยบ่มเพาะ (Incubator & Accelerator) และนักลงทุน (Investor) ในการสนับสนุนเงินทุน องค์ความรู้ และพัฒนาศักยภาพให้แก่ผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ ซึ่งจะเป็นการช่วยเร่งการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ภายใต้นโยบายของรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

เป้าหมายของโครงการ

     โครงการ Startups for Startups มีเป้าหมายในการพัฒนาให้เกิดระบบนิเวศการสร้างผู้ประกอบการที่มีการเติบโตอย่างยั่งยืน ส่งเสริมการมีบทบาทของภาคเอกชนในรูปแบบของ Product/Service Providers เพื่อเป็น “Startup Promoter” ซึ่งจะเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรมรายใหม่ในการเข้าใช้บริการ

     ดังนั้น โครงการฯ จึงถูกออกแบบเพื่อส่งเสริมการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ที่มีวัตถุประสงค์ของการทำธุรกิจเพื่อสนับสนุนการเติบโตของผู้ประกอบการฐานวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรายอื่นในด้านต่างๆ เช่น การทำวิจัยและพัฒนา การบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ การวิเคราะห์ตลาดและความต้องการของผู้บริโภค ระบบการเงินและบัญชี กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ

     ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมโครงการฯ จะต้องดำเนินธุรกิจในรูปแบบของ B2B (Business to Business) เป็นหลัก เพื่อส่งเสริมการเติบโตของธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรมรายอื่นได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะมีความแตกต่างจากการสนับสนุนของโครงการอื่นๆ ที่เน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการสู่ผู้บริโภคในวงกว้างแบบ B2C (Business to Consumer) เพื่อการเติบโตอย่างก้าวกระโดด

 

รูปแบบการสนับสนุนทุน

คุณสมบัติของผู้ขอรับการสนับสนุนทุน

  1. ผู้ประกอบการต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในประเทศไทยมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี (นับถึงวันที่ยื่นขอรับการสนับสนุนทุน) โดยมีผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ด
  2. ผู้ประกอบการมีประสบการณ์และความรู้ในด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และการพัฒนาธุรกิจ Startups
  3. ผู้ประกอบการมีความสามารถในการบริหารจัดการโครงการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จ
  4. ผู้ประกอบการไม่เป็นผู้ได้รับการสนับสนุนทุนจากหน่วยงานอื่นในโครงการเดียวกันนี้ในระหว่างการยื่นข้อเสนอโครงการจนถึงการพิจารณาอนุมัติโครงการ เว้นแต่การสนับสนุนทุนนั้นเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ซ้ำซ้อนกับค่าใช้จ่ายที่ขอรับทุน

ลักษณะของโครงการที่จะขอรับการสนับสนุนทุน

  1. เป็นโครงการที่มีแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในกระบวนการผลิตหรือให้บริการ ซึ่งสามารถส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการของธุรกิจ Startups รายอื่นๆ พร้อมด้วยแผนธุรกิจ (Business Model) ที่มีความชัดเจนและมีศักยภาพ
  2. เป็นโครงการที่มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลักที่จะใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการในโครงการเป็นกลุ่มผู้ประกอบการ Startups หรือผู้ประกอบการรายใหม่ที่ต้องการจะเริ่มต้นสร้างธุรกิจ Startups
  3. มีความพร้อมในการดำเนินงาน และมีแนวโน้มที่จะสามารถประกอบธุรกิจนี้ได้อย่างต่อเนื่อง
  4. มีผลลัพธ์หรือผลผลิตที่ชัดเจนภายในระยะเวลาที่ได้รับการสนับสนุนทุน

หมวดค่าใช้จ่ายที่ให้การสนับสนุนทุน

ขั้นตอนการขอรับการสนับสนุนทุน

  1. ผู้ประกอบการต้องส่งร่างข้อเสนอโครงการ (Concept Proposal) ตามช่องทางที่กองทุนฯ กำหนด
  2. ผู้ประกอบการนำเสนอโครงการต่อคณะทำงานกลั่นกรองร่างข้อเสนอโครงการ (Startups for Startups)
  3. ผู้ประกอบการพัฒนาข้อเสนอโครงการฉบับสมบูรณ์ (Full Proposal) ร่วมกับฝ่ายพัฒนาโครงการของกองทุนฯ
  4. ผู้ประกอบการนำเสนอโครงการฉบับสมบูรณ์ต่อคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองและคัดเลือกผู้ประกอบการที่ขอรับการสนับสนุนทุน (Startups for Startups) โดยให้คณะอนุกรรมการฯ ทำหน้าที่เป็นผู้พิจารณากลั่นกรองและคัดเลือกผู้ประกอบการที่ขอรับการสนับสนุนทุนที่มีศักยภาพจากข้อเสนอโครงการ ก่อนเสนอให้คณะกรรมบริหารกองทุนฯ การพิจารณาอนุมัติ
  5. เมื่อคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ อนุมัติข้อเสนอโครงการขอรับการสนับสนุนทุนแล้ว ผู้ประกอบการจะต้องทำสัญญารับทุนตามรูปแบบที่กองทุนฯ กำหนด

การเบิกจ่ายเงินสนับสนุนทุน

     เป็นการเบิกค่าใช้จ่ายย้อนหลัง (Reimbursement) คือ ผู้รับทุนจะต้องออกค่าใช้จ่ายในโครงการล่วงหน้าแต่ละงวดไปก่อน แล้วจึงนำใบเสร็จรับเงิน หรือใบรับรองการจ่ายเงิน หรือหลักฐานการชำระเงินมาเบิกค่าใช้จ่ายจากกองทุนฯ โดยเอกสารดังกล่าวจะต้องเป็นการใช้จ่ายในโครงการภายหลังจากวันที่ได้ลงนามในสัญญาสนับสนุนทุน โดยกองทุนฯ จะเบิกจ่ายเงินทุนสนับสนุนแก่ผู้รับทุนเป็นรายงวด ดังนี้

  • - งวดที่ 1 ร้อยละ 25 ของวงเงินสนับสนุนทุน โดยจะจ่ายภายหลังผู้รับทุนรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการไปแล้วร้อยละ 25 โดยแสดงเอกสารการเบิกจ่ายตามหลักเกณฑ์ของกองทุนฯ
  • - งวดที่ 2 ร้อยละ 50 ของวงเงินสนับสนุนทุน โดยจะจ่ายภายหลังผู้รับทุนรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการไปแล้วร้อยละ 50 โดยแสดงเอกสารการเบิกจ่ายตามหลักเกณฑ์ของกองทุนฯ
  • - งวดที่ 3 ร้อยละ 25 ของวงเงินสนับสนุนทุน โดยจะจ่ายภายหลังผู้รับทุนรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการไปแล้วร้อยละ 100 โดยแสดงเอกสารการเบิกจ่ายตามหลักเกณฑ์ของกองทุนฯ

การเบิกจ่ายเงินให้เป็นไปภายในวงเงินและรายละเอียดงบประมาณของข้อเสนอโครงการที่ได้รับการอนุมัติ

เกณฑ์การพิจารณากลั่นกรองโครงการ

     คณะทำงานกลั่นกรองร่างข้อเสนอโครงการ (Startups for Startups) และคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองและคัดเลือกผู้ประกอบการที่ขอรับการสนับสนุนทุน (Startups for Startups) จะใช้เกณฑ์ในการพิจารณาเห็นชอบและอนุมัติโครงการในแต่ละขั้นตอน ดังต่อไปนี้

  1. โอกาสทางการตลาดและความเป็นไปได้ในการลงทุน (40 คะแนน)
  2. กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจนวัตกรรม (40 คะแนน)
  3. ศักยภาพในการดำเนินโครงการ (20 คะแนน)

     ทั้งนี้ กำหนดให้โครงการที่ผ่านการพิจารณาโดยคณะทำงานฯ จะต้องได้รับคะแนนไม่น้อยกว่า 65 คะแนน และโครงการที่ได้รับการอนุมัติโดยคณะอนุกรรมการฯ จะต้องได้รับคะแนนไม่น้อยกว่า 75 คะแนน และผลการพิจารณาของกองทุนฯ ให้ถือเป็นที่สิ้นสุด

แนะนำเครือข่ายร่วมพัฒนาผู้ประกอบการ

อุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

ภาคเหนือ

อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ภาคเหนือ

อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

ภาคเหนือ

สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยพะเยา

ภาคเหนือ

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

ภาคเหนือ

อุทยานวิทยาศาสตร์​ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฏ​อุตรดิตถ์

ภาคเหนือ

อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ภาคเหนือ

ศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ภาคเหนือ

บริษัท แบ๊คสเตอร์ จํากัด

ภาคเหนือ

บริษัท เชียงใหม่ อินโนเวชั่น อินคิวเบชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด

ภาคเหนือ

อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

ภาคเหนือ

โลโก้และแบนเนอร์สำหรับเว็บไซต์

แบนเนอร์สำหรับเว็บไซต์

แผนที่

© 2017 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม . All Rights Reserved.

 กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ TED Fund เป็นกองทุนส่งเสริมและสนับสนุนทุนสำหรับนักศึกษา และผู้ประกอบการธุรกิจที่มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นพื้นฐาน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

นโยบายคุกกี้

เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างสะดวกสบายยิ่งขึ้นรวมถึงการวิเคราะห์การทำงานของเว็บไซต์เพื่อพัฒนาบริการของเรา ท่านสามารถกดปุ่ม "ยอมรับ" เพื่ออนุญาตให้ใช้คุกกี้ทุกประเภท