ทั้ง 4 กองทุนหมุนเวียนที่ครม.เห็นชอบประกอบไปด้วย
2. กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (สตาร์ทอัพ) ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยกองทุนนี้จะเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ ในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรมในเชิงพาณิชย์ โดยกองทุนหมุนเวียนนี้จะทำหน้าที่ในการสนับสนุนงบประมาณบางส่วนให้กับผู้ประกอบการที่เป็นสตาร์ทอัพในลักษณะการสนับสนุนงบประมาณบางส่วน (Matching Grant) เพื่อพัฒนาให้เกิดเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ จากนั้นจึงนำเงินที่ได้ส่งคืนเมื่อโครงการประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์แล้ว เงื่อนไขของการสนับสนุนกองทุนคือการให้เงินทุนแก่ผู้ที่จบการศึกษาไม่เกิน 7 ปี หรือบุคลากรในสถาบันการศึกษา หรือสถาบันวิจัย ผู้ประกอบการขนาดกลางหรือขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่ได้ดำเนินงานด้านการพัฒนานวัตกรรมร่วมกับสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัย
3. กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ ของสำนักงานเศรษฐกิจ กระทรวงการคลัง เนื่องจากประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ แต่แรงงานส่วนใหญ่มีรายได้หลังเกษียณไม่เพียงพอในการดำรงชีวิต ทำให้มีความเสี่ยงที่คนจำนวนมากจะเข้าสู่ภาวะยากจนในวัยชรา หากไม่มีการออมเพิ่มเติมในขณะที่อยู่ในวัยทำงาน ดังนั้นจึงมีแนวคิดที่จะผลักดันให้สถานประกอบการทุกแห่งมีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาคบังคับสำหรับแรงงานในระบบ (Mandatory Provident Fund) เพื่อเป็นการออมเพิ่มเติมให้กับแรงงานสำหรับแรงงานในระบบที่มีอายุตั้งแต่ 15-60 ปี ครอบคลุมลูกจ้างเอกชน ลูกจ้างชั่วคราวส่วนราชการ พนังงานของรัฐ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งยังไม่ได้เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพรวมจำนวนทั้งสิ้น 11.37 ล้านคน
“คาดว่าข้อกฎหมายสำหรับการกำหนดให้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาคบังคับที่ครอบคลุมสถานประกอบการทั้งหมดในประเทศจะมีการเสนอเข้าสู่การพิจารณาของ ครม.ภายในเดือนนี้ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะเสนอเข้ามาเป็นแพคเกจมาตรการสำหรับรองรับสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งคาดว่าจะเข้า ครม.ภายในเดือนนี้” นายกอบศักดิ์กล่าว
4. กองทุนเพื่อโครงการอาหารนักเรียนในโรงเรียน โดย ครม.เห็นชอบให้มีการดำเนินการโอนกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษาตาม พ.ร.บ.กองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา 2535 จากเดิมที่จัดตั้งในกระทรวงการคลัง มาจัดตั้งขึ้นเป็นกองทุนเพื่อโรงการอาหารนักเรียนในโรงเรียน ของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้เกิดการคล่องตัวในการบริหารกองทุนมากขึ้น รวมทั้งให้พิจารณาให้มีการดำเนินงานให้ครอบคลุมอาหารมื้ออื่นๆนอกเหนือจากอาหารกลางวันให้กับนักเรียนในโรงเรียนที่จัดการศึกษาตั้งแต่ก่อนวัยประถามศึกษา นักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ เพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ มีการเติบโตทั้งร่างการและจิตใจ