• 02 333 3700 ต่อ 4072 - 4075
  • saraban_tedfund@mhesi.go.th
  • กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

TED Fund สนับสนุนทุนพัฒนางานวิจัย สร้างธุรกิจใหม่สำเร็จ ผลิตหนังเทียมฝึกหัดเย็บแผลจากน้ำยางพารา ช่วยพัฒนาทักษะและความชำนาญให้นักศึกษาแพทย์-พยาบาล

    TED Fund โชว์ผลงานเด็ด “หนังเทียมฝึกหัดเย็บแผลฉีกขาดสำหรับนักศึกษาแพทย์และพยาบาลจากยางพารา”เปลี่ยนงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ สร้างโอกาสธุรกิจให้คนรุ่นใหม่ เพิ่มมูลค่าน้ำยางพารา เผยให้ผิวสัมผัสที่ใกล้เคียงผิวมนุษย์ เทียบเท่าผิวซิลิโคนนำเข้า ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น แถมแก้ปัญหาให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ลดนำเข้าวัสดุจากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาแพง

 

    เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2565 ดร.ชาญวิทย์ ตรีเดช ผู้จัดการกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม(TED Fund) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) ลงพื้นที่ติดตามความสำเร็จตามภารกิจการพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรมและการดำเนินงานของกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund ) ที่ สวนยางพารา ต.ควนลัง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ภายใต้โครงการ“หนังเทียมฝึกหัดเย็บแผลฉีกขาดสำหรับนักศึกษาแพทย์และพยาบาลจากยางพารา” ซึ่ง TED Fund ให้ทุนสนับสนุน บริษัท เทพาพาราเทค จำกัด ภายใต้โครงการยุววิสาหกิจเริ่มต้น (TED Youth Startup) ไปพัฒนาและเพิ่มมูลค่าของยางพารา ทำให้เกษตรกรชาวสวนยางพารามีรายได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG ในการดูแลรักษาและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าอีกด้วย

    ดร.ชาญวิทย์ กล่าวว่า โครงการ “หนังเทียมฝึกหัดเย็บแผลฉีกขาดสำหรับนักศึกษาแพทย์และพยาบาลจากยางพารา” เป็นการแก้ปัญหาให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ทั้งแพทย์ ทันตกรรม พยาบาลและสาธารณสุข ที่จะต้องมีการฝึกเย็บแผลฉีดขาดให้เกิดความเชี่ยวชาญ และชำนาญก่อนที่จะสำเร็จการศึกษาหรือได้รับ ใบประกอบวิชาชีพ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วนักศึกษาที่เรียนทางด้านนี้จะต้องใช้วัสดุหนังเทียมสำหรับใช้ฝึกเย็บแผลฉีกขาดอย่างน้อยคนละ 2 ชิ้น เป็นวัสดุที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาสูงและผลิตจากยางสังเคราะห์ที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ในธรรมชาติ จึงทำให้ต้นทุนในการฝึกหัดเย็บแผลฉีดขาดของนักศึกษาสูงและเป็นภาระแก่ผู้เรียนพอสมควร นอกจากนี้ วัสดุประเภทนี้เป็นวัสดุสิ้นเปลืองใช้งานเสร็จแล้วไม่สามารถใช้งานซ้ำหลายๆ ครั้งได้ จึงทำให้เกิดเป็นขยะในสิ่งแวดล้อมที่ไม่สามารถย่อยสลายได้และเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ ส่วนวัสดุหนังเทียมที่ผลิตจากน้ำยางธรรมชาติเดิมยังมีรูพรุนเนื้อในจึงทำให้เนื้อวัสดุไม่แน่น เกิดการยุบตัวระหว่างฝึกเย็บแผลและมีความแตกต่างจากหนังมนุษย์จริงค่อนข้างมาก ทำให้ไม่เป็นที่นิยมนัก

    “โครงการ “หนังเทียมฝึกหัดเย็บแผลฉีกขาดสำหรับนักศึกษาแพทย์และพยาบาลจากยางพารา” ถือเป็นการสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ให้นำผลงานวิจัย สู่เชิงพาณิชย์ ถือเป็นการตอบโจทย์ตามเป้าหมายการดำเนินงานของ TED Fund ด้วยสามารถช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว ผ่านกระบวนการผลิตที่คิดค้นขึ้น และใช้
น้ำยางธรรมชาติที่ไม่มีโพรงเซลล์เปิดด้านในเนื้อฟองน้ำ อีกทั้งสามารถประยุกต์ใช้แมคโครพอลิเมอร์ หรือแป้งจากพืชในการแทรกซึมในทุกๆ โพรงที่เกิดขึ้นในเนื้อฟองน้ำ จึงทำให้ได้ฟองน้ำที่สามารถใช้เป็นวัสดุหนังเทียมฝึกหัดเย็บแผลฉีดขาดที่มีเนื้อแน่น มีความชุ่มชื่นและให้ผิวสัมผัสที่ใกล้เคียงผิวมนุษย์ เทียบเท่าผิวซิลิโคนนำเข้า” ดร.ชาญวิทย์ กล่าว

    ดร.ชาญวิทย์ กล่าวอีกว่า หนังเทียมฝึกหัดเย็บแผลฉีกขาดสำหรับนักศึกษาแพทย์และพยาบาลจากยางพารา มีราคาถูก ต้นทุนการผลิตต่ำกว่าวัสดุที่นำเข้ามาจากต่างประเทศมากถึง 4 - 5 เท่า นอกจากนี้ยังเป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้โดยจุลินทรีย์ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม         

    ด้าน นายอนุวัตร วอลี กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทพาพาราเทค จำกัด กล่าวว่า การที่ TED Fund เข้ามาสนับสนุนทุนมูลค่า 1.5 ล้านบาท ภายใต้โครงการยุววิสาหกิจเริ่มต้น (TED Youth Startup) พร้อมทั้งจัดให้มีหน่วยงานพี่เลี้ยง หรือ TED Fellow คอยช่วยเหลือตลอดโครงการ ช่วยทำให้ผู้ประกอบการพัฒนาไอเดียทางด้านนวัตกรรมของตนเอง ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่สัมผัส และใช้งานได้จริง อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นให้ผู้ประกอบการอยากพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและตอบโจทย์การใช้งานจริงได้มากขึ้น รวมถึงทำให้ผู้ประกอบการต่อยอดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองให้สามารถใช้งานได้ในวงกว้างและหลากหลายมากขึ้นต่อไปได้อีกในอนาคต

    “สำหรับผลิตภัณฑ์หนังเทียมฝึกหัดเย็บแผลฉีกขาดจากยางพาราที่พัฒนาขึ้น เป็นจุดเริ่มต้นของก้าวแรกในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ด้วยมีแผนที่จะพัฒนาและต่อยอดเป็นวัสดุประเภทอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ต่อยอดและพัฒนาเป็นหนังเทียมฝึกหัดเย็บแผลเหงือกในช่องปาก วัสดุฝึกหัดฉีดยา และอวัยวะเทียมต่างๆ ที่ใช้สำหรับฝึกปฏิบัติของนักศึกษาและบุคลากรทางด้านสาธารณะสุข”นายอนุวัตร กล่าว

 


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ

งานประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund)

นายวรุฒ กิ่งเล็ก โทรศัพท์ 085 344 9163

อีเมล์ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.tedfund.mhesi.go.th

สำหรับเจ้าหน้าที่

ติดต่อเรา

ที่อยู่ : กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม

       กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

       เลขที่ 75/47 อาคารพระจอมเกล้า (ห้อง 308) ถ.พระราม 6
       แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

อีเมล์ : saraban_tedfund@mhesi.go.th

โทรศัพท์ : 02 333 3700 ต่อ 4072 - 4075

แผนที่

โลโก้และแบนเนอร์สำหรับเว็บไซต์

แบนเนอร์สำหรับเว็บไซต์

© 2017 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม . All Rights Reserved.

 กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ TED Fund เป็นกองทุนส่งเสริมและสนับสนุนทุนสำหรับนักศึกษา และผู้ประกอบการธุรกิจที่มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นพื้นฐาน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

นโยบายคุกกี้

เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างสะดวกสบายยิ่งขึ้นรวมถึงการวิเคราะห์การทำงานของเว็บไซต์เพื่อพัฒนาบริการของเรา ท่านสามารถกดปุ่ม "ยอมรับ" เพื่ออนุญาตให้ใช้คุกกี้ทุกประเภท