• 02 333 3700 ต่อ 4072 - 4075
  • saraban_tedfund@mhesi.go.th
  • กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

TED Fund กระทรวงการอุดมศึกษาฯ ลงพื้นที่ จ.ขอนแก่น ติดตามความคืบหน้า 2 โปรเจ็คใหญ่โดรนเพื่อการเกษตรอัจฉริยะ และ โปรตีนทางเลือกใหม่จากจิ้งหรีดส่งออกต่างประเทศ

               

          TED Fund กระทรวงการอุดมศึกษาฯ ลงพื้นที่ จ.ขอนแก่น  ติดตามความคืบหน้า  2 โปรเจ็คใหญ่โดรนเพื่อการเกษตรอัจฉริยะ และ โปรตีนทางเลือกใหม่จากจิ้งหรีดส่งออกต่างประเทศ ผุดเครือข่ายร่วมพัฒนาผู้ประกอบการทั่วประเทศ 32 แห่งกระจายการเข้าถึงให้ทุนนิสิตนักศึกษา ตั้งแต่ 1 แสนถึง 1.5 ล้านบาท

          เมื่อวันที่ 2 เม.ย. ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) ในฐานะประธานกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) พร้อมด้วยดร.ชาญวิทย์ ตรีเดช ผู้จัดการกองทุนฯ  ลงพื้นที่ จ.ขอนแก่น เพื่อติดตามความคืบหน้าโครงการของผู้ประกอบการที่ได้ทุนสนับสนุนจากโครงการกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือเทคฟันด์ โดย ศ.ดร.ศุภชัยฯ เปิดเผยว่า กองทุนเทคฟันด์ ดำเนินการโครงการมาเป็นระยะเวลาเกือบ 4 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2560 - 2564 โดยคำนึงถึงนโยบายหลักของรัฐบาลในการนำประเทศไทยไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการใช้นวัตกรรม เพื่อเพิ่มคุณค่าสินค้าและบริการ  และการส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ในการพัฒนาธุรกิจ โดยมี เทคฟันด์ เป็นหน่วยงานสำคัญในการขับเคลื่อนมี 2 กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มแรก  คือ นิสิต นักศึกษา หรือผู้ที่จบการศึกษาจากสถาบันการศึกษาไม่เกิน 7 ปี หรือบุคลากรในสถาบันการศึกษาหรือสถาบันวิจัย หรือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีหรือสตาร์ทอัพ ทุนมูลค่าไม่เกิน 2 ล้านบาท และ กลุ่มที่สอง คือ  กลุ่มนิสิต นักศึกษาระดับปริญญาตรี โท เอก และบัณฑิตจบใหม่ไม่เกิน 5 ปี และหรือวิสาหกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ที่มีนิสิต นักศึกษา และบัณฑิตบจบใหม่ ถือหุ้นในบริษัทมากกว่า 31% ขึ้นไป โดยกลุ่มนี้จะได้รับการสนับสนุนทุนตั้งแต่มูลค่า 100,000-1,500,000 บาท

          ประธานเทคฟันด์ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมา เทคฟันด์ สนับสนุนทุนแก่ผู้ประกอบการ จำนวน 284 โครงการ ทำในเรื่องของ อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร   การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ  อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร  อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เป็นต้น ในวงเงินงบประมาณรวมกว่า 370 ล้านบาท สำหรับปีงบประมาณ 2564 จะมีกระจายโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยจัดตั้งเครือข่ายร่วมพัฒนาผู้ประกอบการ หรือ TED Fellow ภายใต้การดูแลโดยเทคฟันด์ ขึ้นมา มีทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน จำนวนทั้งสิ้น 32 หน่วยงาน ขึ้นเป็นเครือข่ายร่วมพัฒนาผู้ประกอบการ ซึ่งคลอบคลุมทั่วทุกภูมิภาค โดยภาคกลาง มีจำนวน 15 หน่วยงาน, ภาคเหนือ มี 7 หน่วยงาน, ภาคอีสาน มี 5 หน่วยงาน และภาคใต้ มี 5 หน่วยงาน โดยสามารถติดตามข่าวสารการเปิดรับสมัครทุนได้ที่ www.tedfund.mhesi.go.th หรือเพจ Facebook : TED Fund หรือโทร 02 - 333 -3700 ต่อ 4072-4074 ทางกองทุนฯ รอต้อนรับน้องๆ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเรา และก้าวเติบโตไปด้วยกัน

          ด้าน ดร.ชาญวิทย์ ตรีเดช ผู้จัดการกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) กล่าวว่า การลงพื้นที่ จ.ขอนแก่น เพื่อมาดูผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ ได้แก่ โครงการพัฒนาระบบการควบคุมประมวลผลภาพดิจิทัลทุกรูปแบบร่วมกับอากาศยานไร้คนขับ(โดรน) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการใช้อากาศยานไร้คนขับร่วมกับระบบประมวลผลภาพดิจิทัลในการเพาะปลูกเปรียบเทียบกับการเพาะปลูกแบบปกติ เพื่อนำไปใช้ในงานด้านการเกษตร เป็นการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ และคุณค่าทางเศรษฐกิจให้กับเกษตรกรไทย ลดการใช้แรงงานในการผลิต และ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของประเทศไทยสู่การแข่งขันในตลาดโลก โดยมีจุดเด่นคือ ความสามารถในการควบคุมตำแหน่งความสูงที่ถูกต้องแม่นยำและมีความเสถียรภาพของอากาศยาน สามารถพ่นสารน้ำ สารชีวภาพ การให้ปุ๋ย และพ่นสารกำจัดแมลง ที่สำคัญ  ยังได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ในระยะเวลาอันสั้นและมีความแม่นยำสูง ประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่าเดิม ช่วยให้พืชผลเพิ่มประสิทธิภาพให้เจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์ และสามารถเก็บข้อมูลภูมิสารสนเทศอื่น ๆ ได้แก่ ลักษณะภูมิประเทศ ดิน น้ำ พืชพรรณ จะมีประโยชน์มากยิ่งขึ้นต่อการวิเคราะห์สถานการณ์ก่อนและหลังเหตุการณ์

          ดร.ชาญวิทย์ กล่าวต่อว่า โครงการต่อมา คือ โครงการโปรตีนทางเลือกใหม่จิ้งหรีด โดยการพัฒนาระบบการผลิตโปรตีนเข้มข้นผงจากจิ้งหรีดด้วยเทคโนโลยีการสกัดด้วยน้ำร้อนภายใต้ความดันและการทำแห้งแบบโฟมแมท เพื่อสร้างมาตรฐานสินค้า และสามารถขอใบรับรองมาตราฐานทางห้องปฏิบัติการ เพื่อการส่งสินค้าไปยังต่างประเทศและเพื่อพัฒนาต่อยอดสิ้นค้าเดิม โดยมีงานวิจัยรองรับ เพิ่มคุณสมบัติให้ผงจิ้งหรีดมากขึ้น มีคุณค่าทางโภชนาการที่มากขึ้น สร้าง Unfair Advantage ให้แก่ผลิตภัณฑ์ เนื่องจาก โปรตีนจากจิ้งหรีด เป็นที่สนใจในตลาดต่างประเทศอย่างมาก  ใน จ. ปัจจุบันมีเกษตรที่ลงทะเบียนกับกรมปศุสัตว์โดยประมาณ 70 หลังคาเรือน แต่ละหลังคาเรือนให้ผลผลิตจิ้งหรีดสด 500-1000 กิโลกรัม/หนึ่งรอบการผลิต ผุ้ประกอบการที่เทคฟันด์ให้ทุนสนับสนุน จึงผลักดันฟาร์มมาตรฐานขนาดเล็กและอาคารแปรรูปขนาดเล็ก ที่เป็นตัวอย่างในการเลี้ยงจิ้งหรีดให้ได้คุณภาพ และรับซื้อจิ้งหรีดเพื่อแปรรูปเป็น Cricket Flour โดยได้รับโอกาสจาก กรมปศุสัตว์ส่วนกลาง ในการเป็นฟาร์มต้นแบบนำร่องกฎหมายมาตรฐานฟาร์มจิ้งหรีดประเทศไทย หรือ GAT: Good Agricultural Practice  เพื่อให้ได้จิ้งหรีดที่สะอาด สามารถส่งออกได้ด้วยนความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ทั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่นและสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดขอนแก่น เป็นต้น

 

 

 

           


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ

งานประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund)

นายวรุฒ กิ่งเล็ก โทรศัพท์ 085 344 9163

อีเมล์ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

www.tedfund.mhesi.go.th

ติดต่อเรา

ที่อยู่ : กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม

       กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

       เลขที่ 75/47 อาคารพระจอมเกล้า (ห้อง 308) ถ.พระราม 6
       แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

อีเมล์ : saraban_tedfund@mhesi.go.th

โทรศัพท์ : 02 333 3700 ต่อ 4072 - 4075

โลโก้และแบนเนอร์สำหรับเว็บไซต์

แบนเนอร์สำหรับเว็บไซต์

แผนที่

© 2017 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม . All Rights Reserved.

 กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ TED Fund เป็นกองทุนส่งเสริมและสนับสนุนทุนสำหรับนักศึกษา และผู้ประกอบการธุรกิจที่มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นพื้นฐาน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

นโยบายคุกกี้

เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างสะดวกสบายยิ่งขึ้นรวมถึงการวิเคราะห์การทำงานของเว็บไซต์เพื่อพัฒนาบริการของเรา ท่านสามารถกดปุ่ม "ยอมรับ" เพื่ออนุญาตให้ใช้คุกกี้ทุกประเภท